skip to main |
skip to sidebar
ทรัพย์สินจุฬา ฯ ผุดโมเดลสร้างสังคมเข้มแข็ง รอบรั้วจุฬาดึงชุมชน 5 ย่านสำคัญ เป็นต้นแบบ ผ่านโครงการ “สร้างเสริมสุขภาพในชุมชน 5 ส
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย สำนักงานจัดการทรัพย์สินจุฬาฯ จัดโครงการ“ เสริมสร้างสุขภาพในชุมชน 5 ส” อันประกอบไปด้วย สยามสแควร์ สวนหลวง สามย่าน สีลม และสวนลุมพินี สานต่อยุทธศาสตร์ “เกื้อกูล” หลังประสบความสำเร็จในปีที่ผ่านมา หวังเป็นโมเดลชุมชนต้นแบบ ด้านร้านค้าใน 5 ย่าน ตอบรับโครงการ เร่งพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพ เพื่อร่วมสร้างสังคม ชุมชนเข้มแข็ง ตามคำขวัญว่า “ชุมชนแข็งแรง ชุมชน 5 ส” ศ.นพ. ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า โครงการ สร้างเสริมสุขภาพในชุมชน 5 ส เกิดจากความร่วมมือของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย สำนักงานทรัพย์สินจุฬาฯ เพื่อร่วมพัฒนาเขตชุมชนพาณิชย์โดยรอบจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้เป็นชุมชนที่แข็งแรง ทั้งด้านชีวภาพและกายภาพ คือมีความปลอดภัย ความสะอาดของอาหาร มีสภาพแวดล้อมที่ดี ร้านค้ามีความเป็นระเบียบ เรียบร้อย สะอาดตา และที่สำคัญผู้คนในชุมชนมีสุขภาพที่สมบูรณ์ แข็งแรง ซึ่งเป็นโครงการนี้เกิดขึ้นจากแนวทางยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยทางด้าน “เกื้อกูล” จากที่ได้กำหนดไว้ 6 ด้าน คือ “ก้าวหน้า ยอมรับ เข้มแข็ง มั่นคง เกื้อกูล และเป็นสุข” โดยมุ่งหวังเห็นชุมชนมีความเข้มแข็ง ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม กายภาพ ชีวภาพ สังคม อันจะเอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดี รวมทั้งเป็นการเสริมภาพลักษณ์ และสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างชุมชนและมหาวิทยาลัย “มหาวิทยาลัยมีนโยบายที่จะมุ่งพัฒนาและสนับสนุนโครงการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง โครงการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน 5 ส นับเป็นอีกโครงการที่แสดงเจตนารมณ์ของทุกฝ่ายที่ร่วมแรงร่วมใจในการขับเคลื่อนพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นสำนักงานทรัพย์สินจุฬาฯ คณะต่าง ๆ รวมไปถึงร้านค้าพาณิชย์ และชุมชนในย่าน 5 ส. ที่เร่งพัฒนาปรับปรุงจนผ่านเกณฑ์ของโครงการ ซึ่งจากการสานต่อโครงการต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 2 มีร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการแล้วกว่า 300 ร้านค้า และเชื่อมั่นว่าโครงการนี้จะสร้างความเชื่อมั่น และเข้มแข็งให้กับชุมชน จนสามารถเป็นต้นแบบของชุมชนน่าอยู่ได้อย่างแน่นอน” อธิการบดีกล่าว การดำเนินการโครงการ ตั้งแต่ปี 2553 – 2554 ที่ผ่านมานั้น สำนักงานฯ ได้จัดทำแนวทางการดำเนินงาน “โครงการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน 5 ส” โดยมีเกณฑ์การ พิจารณาคัดเลือกโครงการ และดำเนินโครงการแล้วเสร็จ ในปี 2553 ที่ผ่านมา นั่นคือ 1. โครงการ “ สยามสแควร์ อาหารปลอดภัย รสชาติดี มีความสุข” หรือ Safe Food Good Taste Feel Happy @ Siam square” ซึ่งเป็นโครงการที่ห้องปฏิบัติการวิจัยและทดสอบอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับ สำนักงานเขตปทุมวัน และสำนักงานจัดการทรัพย์สินจุฬาฯ ทำการตรวจสุขลักษณะสถานประกอบการร้านอาหารบริเวณสยามสแควร์ โดยการสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารมาทำการตรวจสอบวิเคราะห์หาเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ 2. โครงการพัฒนาเครือข่าย สร้างเสริมสุขภาพช่องปาก ซึ่งเป็นโครงการจากภาควิชาทันตกรรม ชุมชน คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ โดยการส่งนิสิตชั้นปีที่ 5 ไปฝึกปฏิบัติงานทำโครงการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร บริเวณชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัย จำนวน 20 กว่าแห่ง ปี 2554 นี้ มีโครงการที่ทำต่อเนื่อง และเพิ่มเติมรวม 2 โครงการ คือ 1. โครงการ “อาหารปลอดภัย รสชาติดี มีความสุข” โดย คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล สำนักงานเขตปทุมวัน ร่วมกับ สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาฯ ช่วยกันสานต่อ จากปีที่แล้ว และในปีนี้ได้ขยายพื้นที่ และกำลังดำเนินการ รณรงค์อย่างต่อเนื่องไปยังเขตชุมชน สวนหลวง สามย่าน 2. โครงการ “สร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในพื้นที่สวนหลวงสามย่านและสยามสแควร์ ด้วยการ ออกกำลังกาย ชี่กง 18 ท่า” โดย วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาฯ ซึ่งกิจกรรมนี้ จะมีการสร้างผู้นำ ในการสาธิตการออกกำลังกาย จำนวนประมาณ 15 ท่าน เพื่อนำทักษะความรู้ไปเผยแพร่และฝึกสอนให้กับผู้ที่สนใจในชุมชน อันจะเป็นการส่งเสริมให้ชุมชนมีสุขภาพที่ดีและแข็งแรง นอกจากโครงการข้างต้นแล้วยังมีกิจกรรมสัมพันธ์ที่สำนักงานจัดการทรัพย์สินร่วมกับผู้ประกอบการบริเวณเขตพาณิชย์ โครงการบ้านนี้มีสุขจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหน่วยงานราชการในพื้นที่ อีกหลายโครงการ เช่น การทำความสะอาดพื้นที่บริเวณเชียงกง การสร้างเสริมสุขภาพโดยการออกกำลังกายแอโรบิค การบริจาคโลหิต กิจกรรมการตรวจสุขภาพ เป็นต้น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มุ่งมั่นที่จะผลักดันตนเองให้เป็นต้นแบบของมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพอย่างยั่งยืน โดยกำหนดนโยบายและแนวทางระยะยาวโดยใช้สุขภาวะและการสร้างเสริมสุขภาพเป็นเครื่องมือในการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนโดยรอบ รวมถึงการสร้างเครือข่ายและชุมชนคนรักสุขภาพเพื่อให้เกิดแรงผลักดันต่อเนื่องจากประชาคมต่อไปสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: แผนกประชาสัมพันธ์ สำนักงานจัดการทรัพย์สินจุฬาฯ โทร 02-281-3590 ต่อ 240
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น